praw-sai http://prawsai.siam2web.com/

บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) 

 

           การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน

           วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน
เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ


           องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม   สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
             1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source)   อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ 
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น  ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ  ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร  จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน
             2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด
ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์  ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ  ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับ
ข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ  กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

 

              3. ช่องสัญญาณ  (channel)  ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน  อาจจะเป็นอากาศ  สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว  เช่น  น้ำ  น้ำมัน เป็นต้น  เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
              4. การเข้ารหัส  (encoding)  เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย  จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้  การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง   ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้
              5. การถอดรหัส (decoding)  หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร  โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน
              6. สัญญาณรบกวน (noise)  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร  ผู้รับข่าวสาร  และช่องสัญญาณ    แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด  ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ  เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร  ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) 
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง  เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ  เช่น  การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล  เป็นต้น


ข่ายการสื่อสารข้อมูล
            หมายถึง   การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง  อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

1.  หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)

2.  ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)

3.  หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

   1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูง
แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษร
ต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก
   2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบ
สภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาด
ไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้
   3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีก
โลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่ง
สามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที
   4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการ
จัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้    

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 4 เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

       


        อินเทอร์เน็ต
  (Internet)   หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (International Network)  ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อยจำนวนมากมายที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก  โดยในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายจะสามารถติดต่อสื่อสารเพื่อการเรียกใช้หรือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลตลอดจนสนทนากันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ลักษณะข้อมูลที่ปรากฏในเครือข่ายมีทั้งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ  ภาพเคลื่อนไหว เสียง ที่ปรากฏในรูปแบบของสื่อประสมหรือมัลติมีเดีย (Multimedia) เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือเป็นห้องสมุดโลก ทั้งนี้เนื่องจากเปิดให้ผู้ที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารใส่ข้อมูลข่าวสารไว้ในเครือข่าย  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลสาธารณะที่เปิด สามารถเรียกหรือค้นคืนได้ ส่งผลทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลขนาดมหาศาลกระจัดกระจายเชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลก

   

 

 

 

การเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 

 

        การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นผู้ใช้ส่วนบุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยใช้ผ่านคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์โดยใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงคือ โมเด็ม (Modem) ซึ่งเป็นเครื่องแปลงสัญญาณสื่อสารจาก     อนาลอกของโทรศัพท์ให้เป็นดิจิตอล   โดยต้องสมัครเป็นสมาชิกกับผู้ให้บริการใช้เครือข่ายเชิงพาณิชย์หรือไอเอสพี (Internet Service Providers- ISP) เช่น KSC, Lox info, CS Internet  เป็นต้น  นอกจากนั้นยังมีใช้วงจรเช่า(Leased line)จากองค์การโทรศัพท์เพื่อใช้ในการสื่อสารโดยตรงสำหรับหน่วยงานที่มีอัตราการใช้อินเทอร์เน็ตสูงด้วย   สำหรับเครือข่ายภายในหรือแลนของสถาบันต่างๆ นั้นบุคลากรของหน่วยงานก็ต้องสมัครเป็นสมาชิกเช่นกัน  บางสถาบันจะเปิดให้ผู้ที่เป็นสมาชิกใช้บริการจากภายนอกได้ ซึ่งต้องติดต่อเข้าไปโดยใช้โทรศัพท์และโมเด็ม

       

ข้อมูลในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

       
ลักษณะข้อมูลที่อยู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีอยู่หลายรูปแบบ คือ
    

1.  ข้อมูลข่าวสาร แบบตัวอักษร
(Text)  เป็นข้อมูลที่เป็นเรื่อง ข่าวสารต่าง ๆในรูปของ     ข้อความคล้ายหนังสือ วารสารต่าง ๆ ทั้งนี้สามารถเปิดอ่านได้ทีละหลายๆ หน้าในเวลาเดียวกัน

        2.  ข้อมูลข่าวสารแบบกราฟฟิค (Graphic) คือ ข้อมูลที่เป็นลักษณะภาพต่าง ๆ ซึ่งจัดเก็บไว้ในลักษณะไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์

3.   ข้อมูลข่าวสารในรูปเสียง (sound)

4.  ข้อมูลในรูปแบบสื่อประสม หรือมัลติมีเดีย (Multimedia) คือข้อมูลที่มีทั้งภาพ

ตัวอักษร เสียง และภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ

5.  ข้อมูลในลักษณะไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)  หรือไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) โดยที่

ลักษณะของข้อมูลจะสามารถเชื่อมโยงไปถึงกันได้ทุกเวลาที่ต้องการ และสามารถกลับมายังข้อมูลเดิมเมื่อต้องการให้ทุกขณะเช่นกัน

        เครือข่ายอินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นศูนย์ข้อมูลหรือศูนย์คอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่มีการจัดเก็บข้อมูลจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิชาการ การเมือง ธุรกิจ ข่าวสาร บันเทิง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกมต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลที่ให้ฟรี หรือบางแหล่งก็จะต้องเสียค่าบริการในการสืบค้นข้อมูล

        ประโยชน์ในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีดังนี้

        1. ใช้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลต่างๆทั่วโลก โดยการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(E-mail) หรือการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต (Chat)

        2.  เพื่อการเข้าใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ต่ออยู่ในเครือข่าย การติดต่อเข้าสู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆที่ต่ออยู่ในเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกโปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ มาใช้งานได้

        3.  เพื่อการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้สามารถคัดลอกและถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมที่ผู้ผลิตอนุญาต มาใช้ตามต้องการ

4.       สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูล ห้องสมุดทั่วทุกมุมโลก

5.       ใช้ในการรับข้อมูล ข่าวสาร แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในด้านต่าง ๆผ่านกลุ่มสนทนา

6.       สามารถใช้เชื่อมโยง ติดต่อกับคอมพิวเตอร์หรือศูนย์ข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในงานด้าน

ต่าง ๆ ทั่วโลก

        7.  เพื่อใช้บริการและดำเนินงานธุรกิจจากผู้ขายบริการด้านต่างๆ เช่น ธนาคาร ร้านค้า ร้านอาหารเป็นต้น

8.   ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล (E-Learning) การประชุม การอบรมสัมมนา

9.   ใช้เพื่อความบันเทิง และพักผ่อนหยุ่นใจ เช่น เพลง รายการทีวี วิทยา ภาพยนตร์ เกม

10.    เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัย

        ข้อเสียหรือโทษในการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีดังนี้

        1. ข้อมูลบางอย่างอาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นจริงต้องใช้วิจารณญานในการรับรู้
        2.  อาจถูกหลอกลวง กลั่นแกล้ง
        3.  ถ้าเล่นอินเทอร์เน็ตมากไป อาจทำให้เสียการเรียนได้

        4. ข้อมูลบางอย่างไม่เหมาะสมกับเด็กๆในวัยเรียน

        5. ทำให้เสียสายตาได้

        6. ขณะใช้อินเทอร์เน็ตโทรศัพท์จะใช้งานไม่ได้


 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 4,159 Today: 2 PageView/Month: 19

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...