praw-sai http://prawsai.siam2web.com/

บทที่ 1. ระบบสารสนเทศ
 
 


 

 

1.  ความหมายและวิวัฒนาการ
1.1      
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems – MIS)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ หมายถึง ระบบที่รวบรวมสารสนเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กรให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารเพื่อสนับสนุนภารกิจที่รับผิดชอบ  โดยใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์สมัยใหม่เพื่อสร้างสารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันขอบเขตการทำงานของระบบสารสนเทศขยายตัวจากการรวบรวมข้อมูลที่มาจากภายในองค์กรไปสู่การเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกทั้งจากภายในท้องถิ่น ประเทศและระหว่างประเทศ  กล่าวคือ ระบบสารสนเทศจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การ การจัดการและเทคโนโลยี
             
ระบบสารสนเทศ (Information Systems)  หมายถึง ระบบงานที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดทำสารสนเทศ และการสนับสนุนสารสนเทศให้แก่บุคคลหรือหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การที่ต้องการใช้
             
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงได้ถูกเก็บรวบรวมมาโดยที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เช่น การบันทึกข้อมูลยอดขายสินค้าแต่ละวัน
             
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผล หรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้ เช่น    - ปริมาณการขายสินค้าแต่ละตัว   - จำแนกตามเขตการขาย
              
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
1)           
ด้านเนื้อหา (content)
-  Accuracy              
ถูกต้องไม่มีข้อผิดพลาด
-   Relevance            
สัมพันธ์กับความต้องการ
-   Completeness      
ครบถ้วนสมบูรณ์
-   Reliability            
เชื่อถือได้
-   Verifiability          
ตรวจสอบได้
-   Conciseness           
ได้สารสนเทศเฉพาะที่ต้องการใช้
2)           
ด้านเวลา (time)        
-  Timeliness            
ได้ทันทีที่ต้องการ
-   up-to-date             
เป็นปัจจุบัน
-   time period            
สามารถบ่งบอก อดีต ปัจจุบัน และ อนาคตได้
 
3)           
ด้านรูปแบบ (format)
-      clarity                  
อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย                 
-       level of detail      
มีรายละเอียดในระดับที่ต้องการ
-        Presentation      
รูปแบบที่นำเสนอ
-        Media                
สื่อที่ใช้
-        Flexibility          
ยืดหยุ่น
-        Economy           
ประหยัด
4)           
ด้านกระบวนการ (process) 
-       Accessibility       
การเข้าถึง
-        Participation      
การมีส่วนร่วม
-        Connectivity      
การเชื่อมโยง
                1.2 
วิวัฒนาการของระบบ
                       
ใน พ.ศ. 2493  ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจ โดยใช้กับงานประจำเฉพาะงาน เช่น บัญชีเงินเดือน จัดพิมพ์ใบเสร็จต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นการประมวลผลรวยการ (Transaction processing) ซึ่งเรียกว่าการประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic data processing – EDP)    ต่อมาใน พ.ศ. 2503  เกิดระบบปฏิบัติการที่ใช้โปรแกรมการจัดการและควบคุมระบบปฏิบัติการ    ในช่วง พ.ศ. 2505-2513   คำว่า Management Information Systems ถูกใช้ในวงจำกัด คือหมายถึงโปรแกรมที่ใช้ในการผลิตเอกสารรายงานประจำงวด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยผู้บริหารในการทำการตัดสินใจ เช่น การพิมพ์รายงานงบดุลบัญชีของลูกค้าให้ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ ใช้ในการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามระบบสารสนเทศในยุคแรก ๆ มีข้อจำกัดไม่ยืดหยุ่น ใช้ข้อมูลจากการประมวลผลรายการเท่านั้น ระบบสารสนเทศที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจจึงได้เริ่มตั้งแต่ปี 2513 และต่อมาเกิดพัฒนาการต่าง ๆ ทั้งไมโครคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์แสดงผลเชิงโต้ตอบ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ง่าย และพัฒนาการการด้านเทคโนโลยีฐานข้อมูล ช่วยให้ระบบสารสนเทศที่ใช้ง่ายและดีกว่าเดิม
               
ในราว พ.ศ. 2526  ได้มีการวิจารณ์ถึงปัญหาของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการว่าไม่เหมาะสมสำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งต้องกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย และทิศทางขององค์การ ดังนั้นจึงต้องมีการใช้ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกมาใช้จัดทำระบบสารสนเทศด้วย เช่น สภาพเศรษฐกิจ คู่แข่ง ฯลฯ
1.2.1                    
บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์การ
                  
แบ่งระบบสารสนเทศออกเป็น 5 ยุค ดังนี้
ยุคที่ 1    ช่วงทศวรรษ 1960              -   เน้นการประมวลผลข้อมูลเฉพาะทางเพื่อประสิทธิภาพ    ความรวดเร็ว
                                                                -  
ประเมิน ความคุ้มค่าจากอัตราผลตอบแทน (ROI)
ยุคที่ 2 ช่วงทศวรรษ 1970                 -   เน้นประสิทธิภาพ กระบวนการทำงานให้เป็นอัตโนมัติ
                                                                -  
ประเมิน เลื่อนจาก ROI ไปเป็น การวัดผลิตภาพเพิ่มขึ้น (Productivity)
                                             - 
การตัดสินใจดีขึ้น
ยุคที่ 3 ช่วงทศวรรษ 1980                 -   จากประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เลื่อนเป็นการใช้งานเชิงกลยุทธ์
                                                                 
มุ่งเน้นความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
                                                                -  
ประเมิน ดูจากความจำเป็นของสถานภาพการแข่งขัน ที่ต้องใช้
                                                                  
เป็นเครื่องมือสนับสนุน
ยุคที่ 4 ช่วงทศวรรษ 1990                 -   1.  ใช้ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
                                                                -    2.
ใช้ระบบสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการปรับเปลี่ยน (transfer)
                                                                       
องค์การ อุตสาหกรรม
                                                                -   
ประเมิน ดูจากสถานภาพการแข่งขันและเครื่องมือสนับสนุน
ยุคที่ 5 ช่วงทศวรรษ 2000                 -    1.  ยังใช้เป็นแนวเชิงกลยุทธ์ แต่มุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่า
                                                                -    2. 
สร้างเครือข่ายความร่วมมือ
                                                                 - 
พัฒนาองค์การไปสู่องค์การแห่งการเรียนรู้
                                                                -  
ประเมิน  พิจารณามูลค่าเพิ่มที่ระบบสารสนเทศสามารถสร้าง ให้กับองค์การ

 

 

 

 

 

 

บทที่ 2 คอมพิวเตอร์

  

 

 

 

 

 

 

 

ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ จะทำงานได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ 3 ส่วน ด้วยกันได้แก่ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟแวร์ (Software) และ บุคลากร (Peopleware) 11.5.1 ฮาร์ดแวร์(Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งลักษณะการทำงานได้ 4 หน่วยคือ 1) หน่วยรับโปรแกรมข้อมูล (Input Unit)หน่วยนี้จะรับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ อาจจะโดยแป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือก้านควบคุม (Joystick) เป็นต้น 2) หน่วยประมวลผลกลาง (CPU = Central Processing Unit)ทำหน้าที่นำข้อมูลที่ได้รับมาประมวลผลตามคำสั่งของโปรแกรม และส่งผลลัพธ์ออกที่หน่วยแสดงผล หน่วยประมวลกลางแบ่งออกได้เป็น 2 หน่วยคือ ก. หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ประสานงานและควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ข. หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU = Arithmetic and Logic Unit) ทำหน้าที่คำนวณทางเลขคณิต และเปรียบเทียบตรรกะเพื่อการตัดสินใจ 3) หน่วยความจำ (Memory หรือ Storage Unit) เป็นที่เก็บโปรแกรมข้อมูลและผลลัพธ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะใช้จำนวนไบท์ (Byte) ซึ่งเท่ากับ 1 ตัวอักขระ (Character) บอกขนาดหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
1 bit
=
หน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูล
8 bit
= 1 byte (1 character = 1
ตัวอักขระ)
1,024 bytes
= 1 KB (kilobyte)
2
ยกกำลัง 20 KB
= 1 MB (Megabyte = 1,048,576 bytes)
ประเภทของหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ก. หน่วยความจำหลัก (primary storage)อยู่ภายในเครื่องโดยแบ่งเป็น 2 ส่วนสำคัญดังนี้

 - รอม (ROM = Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่จะถูกอ่านได้อย่างเดียว โปรแกรมจะอยู่ในเครื่องโดยถาวร

- แรม (RAM = Random access Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้จดจำข้อมูลและคำสั่งขณะทำงาน เมื่อปิดเครื่องข้อมูลและโปรแกรมที่อยู่ในส่วนความจำนี้จะลบหายไป

ข. หน่วยความจำรอง (Secondary storage) เนื่องจากผลลัพธ์หรือโปรแกรมบางโปรแกรมการเก็บจะกินเนื้อที่มาก ดังนั้นจึงมีการเก็บไว้ภายนอกเครื่อง เช่น แผ่นบันทึก (Floppy Disc) หรือจานแม่เหล็ก (Hard disc) 4) หน่วยแสดงผล (Output Unit)ทำหน้าที่แสดงผลจากการประมวลผล โดยอาจจะแสดงผลจากการประมวล โดยอาจจะแสดงผลให้เห็นทางจอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) เครื่องขับจานแม่เหล็ก (Disk drive) เป็นต้น

11.5.2 ซอฟแวร์(Software) คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อกำหนดให้ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ โดยซอฟแวร์ตัวหนึ่ง ๆ อาจจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรม เกี่ยวเนื่องและตัวโปรแกรมต้องประกอบด้วย คำสั่งที่จะสั่งให้ส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์ทำงาน โดยอาจจะแบ่งซอฟแวร์ตามหน้าที่ของการทำงานดังนี้ระบบปฏิบัติงาน (OS = Operating System) โปรแกรมแปลภาษา (Compiler or interpreter) โปรแกรมประยุกต์ (application program) โปรแกรมสำเร็จ (Package)

11.5.3 บุคลากร(Peopleware) การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีบุคลากร ในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ และจัดทำโปรแกรมซึ่งแบ่งออกได้เป็น 1) พนักงานเตรียมข้อมูล (data entry operator) ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลลงในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น บัตรเจาะรู เทปแม่เหล็ก ฯลฯ 2) พนักงานควบคุมคอมพิวเตอร์ (computer operator) ทำหน้าที่บรรจุโปรแกรมและข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เตรียมและติดตั้งอุปกรณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบ/แก้ไข การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ 3) นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (programmer) เขียนโปรแกรมที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ 4) นักวิเคราะห์ระบบ (systerm analysis) มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบงานที่จะนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 4,161 Today: 4 PageView/Month: 21

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...